บ้านศรีสุขเมืองทอง ศูนย์ดูแลผู้สูงวัย ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์พักฟื้นคนชรา บ้านพักคนชรา บ้านพักฟื้นคนชรา บ้านพักฟื้นผู้ป่วย สถานพักฟื้นผู้ป่วย สถานพักฟื้นคนชรา สถานพักฟื้นผู้ป่วยเรื้อรัง สถานดูแลผู้ป่วย สถานดูแลคนไข้ สถานดูแลผู้สูงวัย สถานดูแลผู้สูงอายุ สถานพักฟื้นผู้สูงอายุ สถานพักฟื้นผู้สูงวัย ศูนย์ดูแลผู้ป่วย ศูนย์ดูแลคนไข้ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัมพฤต ศูนย์ดูแลผู้พิการ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัมพาต ในรูปแบบที่พักมาตรฐานเยี่ยงโรงพยาบาล แต่บริการด้วยหัวใจ ใส่ใจเยี่ยงญาติสนิทผู้เป็นที่รัก ค่าบริการ ราคากันเอง ย่อมเยา
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะพักฟื้น ให้การดูแลตลอด 24 ชั่วโมง มีบริการห้องพักที่สะอาดถูกสุขลักษณะ
ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีความเสื่อมของร่างกาย ได้แก่ สายตาพร่ามัว การทรงตัวและการเคลื่อนไหวที่ไม่มั่นคงจากการเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก ข้อ รวมทั้งอาจพบอาการหลงลืม หรือสมองเสื่อมได้มากขึ้น เหล่านี้เป็นปัจจัยด้านร่างกายของผู้สูงอายุที่ส่งผลให้เกิดการหกล้มในผู้สูงอายุ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ สภาพแวดล้อมรอบตัวผู้สูงอายุ เช่น สภาพแวดล้อมภายในบ้านที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ พื้นเปียก/ลื่น ระดับพื้นไม่สม่ำเสมอ ฯลฯ โดยพบว่าในแต่ละปี 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุมักมีประสบการณ์ ลื่นล้ม ทั้งนี้สาเหตุของการล้มเกิดจากเสียการทรงตัวของร่างกายเป็นปัจจัยที่พบบ่อยที่สุด ร้อยละ 37 ในเพศชาย และร้อยละ 32.1 ในเพศหญิง รองลงมาคือ มีอาการหน้ามืดวิงเวียน เป็นลม พบร้อยละ 16 ในเพศชายและร้อยละ 15.5 ในเพศหญิง นอกจากนี้ปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการลื่นล้ม ได้แก่ พื้นลื่น พบร้อยละ 42.8 ในเพศชาย และร้อยละ 42.2 ในเพศหญิง รองลงมา คือ สะดุดสิ่งกีดขวางพบร้อยละ 38.8 ในเพศหญิง และร้อยละ 32.1 ในเพศชาย และพื้นต่างระดับ พบร้อยละ 26.3 ในเพศชาย และร้อยละ 23.4 ในเพศหญิง
ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า ปัจจัยด้านความเสื่อมของร่างกายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแก้ไขได้ แต่การจัดสภาพแวดล้อมในบ้านสำหรับผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการลื่นล้มสามารถแก้ไขได้และเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะผู้สูงอายุใช้เวลาส่วนใหญ่ในบ้านพักอาศัย ดังนั้นการจัดสภาพแวดล้อมในบ้านที่เหมาะสมเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซึ่งอาจทำให้ผู้สูงอายุบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต โดยหลักการจัดสภาพแวดล้อมในบ้านสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่
1) พื้น ควรปรับให้มีลักษณะเป็นพื้นเรียบ ไม่ขรุขระและไม่ขัดมันจนลื่น พื้นห้องที่ต้องให้ความใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยเป็นพิเศษ คือ ห้องน้ำ/ห้องส้วม เพราะการเปียกลื่นทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและส่วนใหญ่มักรุนแรง ควรหมั่นทำความสะอาดพื้นห้องน้ำ/ห้องส้วมอย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้มีคราบสบู่หรือตะไคร่ตกค้าง อาจนำแผ่นกันลื่นมาวางไว้ในห้องน้ำ ที่สำคัญควรทำราวเกาะไว้รอบๆ ห้องน้ำ/ห้องส้วม เพื่อให้ผู้สูงอายุใช้ในการยึดเกาะทรงตัวเวลาผู้สูงอายุเข้าห้องน้ำ/ห้องส้วม จะได้ไม่หกล้มง่ายๆ นอกจากนี้ควรปรับจากส้วมซึมที่ต้องนั่งยองๆ เป็นโถส้วมแบบนั่งราบแทนเพราะผู้สูงอายุมักมีโรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ หากเป็นส้วมซึมจะทำให้ลำบากและปวดในการงอเข่า เวลาลุกนั่งอาจเซหรือล้มได้ นอกจากนี้ในบริเวณบ้านไม่ควรมีพื้นต่างระดับ เพราะอาจทำให้สะดุดหกล้มเป็นอันตรายได้
2) บันได ควรติดตั้งราวจับที่มั่นคงเพื่อให้สะดวกในการยึดเกาะเดินขึ้นลง บันไดในแต่ละขั้นควรมีความสูงเสมอกัน และไม่ชันมากจนเกินไป บริเวณบันไดไม่ควรวาง หรือมีสิ่งของกีดขวางทางเดินรวมทั้งไม่ควรมีพรมวางเพราะจะทำให้ผู้สูงอายุสะดุดหกล้มได้ ควรมีแสงสว่างเพียงพอตลอดแนวบันได ทั้งนี้พบว่าในต่างจังหวัดบันไดบ้านมักจะมีลักษณะแคบ สูงชันและมีพื้นของบันไดที่ไม่เรียบเสมอกัน จึงมักทำให้ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุพลัดตกลงมา ดังนั้นควรเพิ่มความกว้างของช่องทางเดิน และขยายความกว้างของขั้นบันได หรือถ้าเป็นไปได้ควรให้ผู้สูงอายุพักอาศัยบริเวณชั้นล่างเพื่อความสะดวกไม่ต้องขึ้นลงบันไดให้ต้องเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
3) แสงสว่าง ควรจัดให้มีแสงสว่างที่เพียงพอโดยเฉพาะบริเวณบันได ห้องน้ำ ประตู และทางเดิน สวิตซ์ไฟอยู่ในตำแหน่งที่ผู้สูงอายุสามารถใช้ได้สะดวก เปิด-ปิดง่าย
4) ประตู ไม่ควรมีธรณีประตูเพราะเป็นสาเหตุของการสะดุดหกล้ม ประตูควรเป็นบานเลื่อน หรือประตูแบบเปิดออก เพื่อให้คนอื่นสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุหกล้ม
5) ห้องนอนควรจัดให้อยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ร้อนอบอ้าวจนเกินไป รวมทั้งมีแสงสว่างเพียงพอ ข้างเตียงควรมีราวจับ เพื่อป้องกันการหกล้มจากเตียงโดยเฉพาะเวลาตื่นนอนตอนเช้า
6) เก้าอี้ ควรมีพนักพิง และมีความสูงในระดับที่สามารถวางเท้าถึงพื้นได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการทรงตัวของผู้สูงวัยในขณะที่นั่ง อีกทั้งเก้าอี้สำหรับผู้สูงวัยก็ไม่ควรทำด้วยวัสดุที่หนักเกินไป เพราะจะทำให้ยากต่อการเลื่อนหรือขยับเก้าอี้ได้ และ
7) สัญญาณขอความช่วยเหลือเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรติดไว้ตามจุดต่างๆภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องน้ำ/ห้องส้วม หรือห้องที่ผู้สูงอายุใช้เป็นประจำ เพราะเวลาเกิดเหตุอะไรขึ้นจะได้เข้าไปช่วยเหลือได้ทัน” อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด