บ้านศรีสุขเมืองทอง ศูนย์ดูแลผู้สูงวัย ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์พักฟื้นคนชรา บ้านพักคนชรา บ้านพักฟื้นคนชรา บ้านพักฟื้นผู้ป่วย สถานพักฟื้นผู้ป่วย สถานพักฟื้นคนชรา สถานพักฟื้นผู้ป่วยเรื้อรัง สถานดูแลผู้ป่วย สถานดูแลคนไข้ สถานดูแลผู้สูงวัย สถานดูแลผู้สูงอายุ สถานพักฟื้นผู้สูงอายุ สถานพักฟื้นผู้สูงวัย ศูนย์ดูแลผู้ป่วย ศูนย์ดูแลคนไข้ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัมพฤต ศูนย์ดูแลผู้พิการ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัมพาต ในรูปแบบที่พักมาตรฐานเยี่ยงโรงพยาบาล แต่บริการด้วยหัวใจ ใส่ใจเยี่ยงญาติสนิทผู้เป็นที่รัก ค่าบริการ ราคากันเอง ย่อมเยา
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะพักฟื้น ให้การดูแลตลอด 24 ชั่วโมง มีบริการห้องพักที่สะอาดถูกสุขลักษณะ
แพทย์เผยยิ่งอายุมากยิ่งเสี่ยงต่อการหกล้ม แนะออกกำลังกายเป็นยากันล้มที่ดีที่สุด และสามารถปฏิบัติเองได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญ
นายแพทย์ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป จะมีแนวโน้มหกล้มร้อยละ 28 – 35 ต่อปี และจะเพิ่มเป็นร้อยละ 32 – 42 เมื่อก้าวเข้าสู่ปีที่ 70 เป็นต้นไป เมื่อผู้สูงอายุหกล้มและกระดูกหักพบว่า 1 ใน 5 ไม่สามารถกลับมาเดินได้อีก และบางส่วนต้องใช้รถเข็นตลอดไป นอกจากนี้ยังพบว่าการหกล้มเป็นสาเหตุสำคัญของการเข้าโรงพยาบาลในผู้ที่มีอายุ 65ปีขึ้นไป สรุปได้ว่าความเสี่ยงของการหกล้มจะยิ่งมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือมีโรคประจำตัว เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือมีปัญหาเรื่องการทรงตัว การล้มในผู้สูงอายุเกิดจากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นกระดูกหรือกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง มีปัญหาสายตา การกินยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาททำให้ง่วงซึม รวมทั้งสภาพแวดล้อมภายในบ้านที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้ การหกล้มในผู้สูงอายุอาจกระทบต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิต ก่อให้เกิดความพิการ หรือแม้กระทั่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิต
นายแพทย์ประพันธ์ พงศ์คณิตานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร เพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีลดความเสี่ยงของการหกล้มที่ได้ผลมากที่สุดคือการออกกำลังกาย เพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความสามารถในการทรงตัวและการเดินซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการหกล้ม ในผู้สูงอายุ แนวทางป้องกันไม่ให้เสี่ยงต่อการหกล้ม ได้แก่
1. เลือกรองเท้าที่เหมาะสม เช่น รูปร่างเข้ากับเท้า วัสดุมีความยืดหยุ่น ระบายอากาศได้ดี หุ้มส้นหรือรัดส้นและส้นเตี้ย
2. ใช้ไม้เท้าในการช่วยเดิน
3. ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเองอย่างสม่ำเสมอ การป้องกันการหกล้มด้วยวิธีการออกกำลังกาย เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลสามารถนำไปปฏิบัติเองได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญ ยกเว้นบางรายที่มีความจำกัดให้เลือกวิธีออกกำลังกายอย่างง่ายหรือปรึกษาแพทย์ตามความจำเป็น
นอกจากการออกกำลังกาย พบว่าการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมภายในบ้านโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบ้านเพื่อผู้สูงอายุ การผ่าตัดต้อกระจกในผู้สูงอายุที่มีปัญหาการมองเห็นจากโรคต้อกระจก การให้วิตามินดีเสริมในผู้สูงอายุที่มีวิตามินดีพร่อง และการหยุดยาที่มีผลต่อจิตประสาททำให้ง่วงซึมหรือสูญเสียการทรงตัว เป็นวิธีการที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการหกล้ม แต่อย่างไรก็ตามวิธีการเหล่านี้ควรได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ หรือแพทย์ก่อนที่ผู้สูงอายุจะดำเนินการด้วยตนเอง