การดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ บ้านศรีสุขเมืองทอง

บ้านศรีสุขเมืองทอง ศูนย์ดูแลผู้สูงวัย ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์พักฟื้นคนชรา บ้านพักคนชรา บ้านพักฟื้นคนชรา บ้านพักฟื้นผู้ป่วย สถานพักฟื้นผู้ป่วย สถานพักฟื้นคนชรา สถานพักฟื้นผู้ป่วยเรื้อรัง สถานดูแลผู้ป่วย สถานดูแลคนไข้ สถานดูแลผู้สูงวัย สถานดูแลผู้สูงอายุ สถานพักฟื้นผู้สูงอายุ สถานพักฟื้นผู้สูงวัย ศูนย์ดูแลผู้ป่วย ศูนย์ดูแลคนไข้ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัมพฤต ศูนย์ดูแลผู้พิการ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัมพาต ในรูปแบบที่พักมาตรฐานเยี่ยงโรงพยาบาล แต่บริการด้วยหัวใจ ใส่ใจเยี่ยงญาติสนิทผู้เป็นที่รัก ค่าบริการ ราคากันเอง ย่อมเยา

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะพักฟื้น ให้การดูแลตลอด 24 ชั่วโมง มีบริการห้องพักที่สะอาดถูกสุขลักษณะ

การดูแลผู้สูงอายุ เรียนรู้เข้าใจ… ดูแลผู้สูงอายุในบ้านให้สุขทั้งกายและใจ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันประเทศไทยเรามีสัดส่วนของผู้สูงอายุสูงที่สุดในอาเซียน และกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ เนื่องจากจำนวนประชากรของผู้สูงอายุของประเทศไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปนั้น มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีผลมาจากความก้าวหน้าในด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย ทำให้ประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น ขณะอัตราการเกิดลดน้อยลง

กระทรวงสาธารณสุขเองก็มีการคาดการณ์ว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยของเราจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด คือ มีประชากรของผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 30 จากจำนวนประชากรทั้งหมด แต่จากการสำรวจพบว่า ประชาชนมีการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพยังมีจำนวนน้อย และผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์หรือพฤติกรรมสุขภาพที่ดีก็มีไม่มาก รวมทั้งการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกต้อง ถูกหลักภายในครอบครัว ก็ถือว่าน้อยมากอีกเช่นกัน

เรียนรู้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับผู้สูงอายุ

เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุทุกคนจำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลตนเองให้มากขึ้น และไม่ใช่แค่ตัวผู้สูงอายุเองเท่านั้น ลูกหลานก็ต้องเอาใจใส่ในการดูแลผู้สูงอายุเป็นอย่างดีด้วยเช่นกัน ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ไม่ว่าตัวผู้สูงอายุหรือลูกหลานมักจะสนใจเฉพาะความเป็นอยู่ทั่วไป หรือดูแลสุขภาพกายของผู้สูงอายุเท่านั้น โดยไม่ค่อยสนใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ การที่จะให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดี ต้องพิจารณาว่าเราจะทำอย่างไรที่จะให้ผู้สูงอายุมีความสุขในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน ทั้งทางร่างกายและจิตใจด้วย

ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มวัยที่ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพราะผู้สูงอายุส่วนมากนอกจากจะมีความเสื่อมของร่างกายตามวัยแล้ว ยังอาจมีโรคเรื้อรังที่ต้องการดูแล เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมายที่ผู้สูงอายุและครอบครัวต้องเผชิญ ทั้งเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และเศรษฐกิจ ของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุบางรายรับไม่ได้ต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น บางรายเกิดการคับข้องใจในตนเอง จนก่อเกิดความขัดแย้งกับลูกหลานหรือคนใกล้ชิด สะสมนานวันเข้าก็จะเป็นที่มาของความเครียด โรคซึมเศร้า และการไม่มีความสุขในการดำเนินชีวิตในที่สุด

ดังนั้น การที่เราจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีความสุขได้นั้น สิ่งแรกที่พึงปฏิบัติคือ ทั้งผู้สูงอายุและตัวลูกหลานจะต้องปรับตัว โดยผู้สูงอายุเองต้องเริ่มจากการปรับใจของตนเองให้ได้ ด้วยการเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งของตนเองและสิ่งใหม่ๆ และยอมรับความคิดเห็นของลูกหลานและคนอื่นให้มากขึ้น ไม่เก็บตัวหรือแยกตัวเองออกจากครอบครัวหรือสังคม ส่วนตัวของลูกหลานเองก็ต้องพยายามเข้าหาผู้สูงอายุให้มากขึ้น ให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ ของครอบครัว เพื่อนฝูง ชุมชน หรือสังคม มีความยืดหยุ่นในเรื่องต่างๆ ให้คิดอยู่เสมอว่าทำอย่างไรจึงจะอยู่ร่วมกับครอบครัวและคนอื่นให้ได้อย่างดีที่สุดเท่าที่ทำได้ ทำอย่างไรที่จะให้มีความขัดแย้งกันน้อยที่สุด เพื่อที่จะทำให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

นอกจากนี้ ปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัยที่พบอยู่เสมอในผู้สูงอายุ ยังมีเรื่องของการบาดเจ็บจากการหกล้มหรือพลัดตกที่สูง โดยมากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 55) หกล้มในตัวบ้านและในบริเวณรั้วบ้าน อาทิ ห้องนอน ห้องครัว และห้องน้ำ และสาเหตุหลักของการหกล้มส่วนใหญ่มาจากพื้นลื่น สะดุดสิ่งกีดขวาง การเสียการทรงตัว พื้นต่างระดับ หน้ามืดวิงเวียน รวมถึงสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมอย่างถูกกระแทกหรือตกบันได ซึ่งภายหลังการพลัดตกหกล้มแล้ว ประมาณครึ่งหนึ่งมีอาการฟกช้ำ รองลงมาคือ มีอาการปวดหลัง และรุนแรงจนกระดูกหัก รวมทั้งเกิดความพิการและเสียชีวิตตามมา

เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุและดูแลสุขภาพอนามัยในผู้สูงอายุ เราควรพาผู้สูงอายุภายในบ้านเข้าร่วมกิจกรรมกับครอบครัว เพื่อนบ้าน เป็นประจำ รวมทั้งเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุในชุมชน ให้ผู้สูงอายุบริโภคอาหารที่ย่อยง่าย สะอาด ไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน เค็มจัด และรับประทานผัก ผลไม้เป็นประจำ ส่งเสริมให้ออกกำลังกาย โดยเน้นฝึกการทรงตัว และฝึกทักษะการเคลื่อนไหว เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ได้แก่ การเดิน โยคะ ไทเก๊ก รำมวยจีน และรำไม้พอง

รวมทั้งดูแลให้ผู้สูงอายุเปลี่ยนท่าช้าๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะความดันตกในท่ายืน อาจมีอาการหน้ามืด วิงเวียน เป็นลม ขณะที่ลุกขึ้น นั่ง หรือยืนทุกครั้ง และสังเกตอาการความบกพร่องของการทรงตัว ประกอบกับการดูแลการใช้ยาต่างๆ พร้อมสังเกตและตรวจความผิดปกติของการมองเห็น เช่น มองเห็นไม่ชัดเจน ตาพร่ามัว เป็นต้น เรียกได้ว่าการที่ผู้สูงอายุจะมีสุขภาพแข็งแรง มีอายุยืนยาวอย่างมีความสุข หรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นั้น ไม่เพียงแต่การเตรียมความพร้อมหรือการปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุเองเท่านั้น ลูกหลาน ครอบครัว ก็ควรใส่ใจดูแลผู้สูงอายุด้วย รวมทั้งสังคมก็ควรเกื้อหนุนอำนวยความสะดวกในสิ่งต่างๆ ตลอดจนจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุด้วย

หลัก 5 อ. จำง่ายๆ ดูแลผู้สูงอายุในบ้านคุณ

การปฏิบัติตนที่ถูกต้องและเหมาะสมตามหลักการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 5 อ. ได้แก่

1. อ.อาหารผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งมีผลต่อการทานอาหารของผู้สูงอายุมาก การจัดเตรียมอาหารจะต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย ในแต่ละวันผู้สูงอายุควรได้รับอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ รวมทั้งใยอาหารและน้ำ ซึ่งหลักการจัดเตรียมอาหารให้แก่ผู้สูงอายุ คือ ลดจำนวนปริมาณอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น ขนมหวาน ของเชื่อม และอาหารมันจัด เช่น ขาหมู ของทอดต่างๆ และแกงกะทิ นอกจากนี้ ควรงดชา กาแฟ เพราะจะทำให้หลับยาก และกาแฟยังทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้นอีกด้วย

2. อ.ออกกำลังกาย โดยออกกำลังกายทุกสัดส่วน กระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ ผู้สูงอายุควรเคลื่อนไหวออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมหลากหลายวิธี เช่น ยืดเส้นยืดสาย ยืดเหยียด ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เดินเร็ว ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น และหลีกเลี่ยงการแข่งขัน การออกแรงเกินกำลัง ความเร็วสูง เกร็ง เบ่ง ยกน้ำหนัก การอยู่ในสถานที่ร้อนอบอ้าว อากาศไม่ถ่ายเท อยู่กลางแดดจ้า

3. อ.อารมณ์ คือ อารมณ์รื่นเริงยินดี ชีวีสดใส ด้วยรอยยิ้ม จิตแจ่มใส มองโลกในแง่บวก ไม่เครียด ช่วยเหลือให้คำแนะนำแก่ลูกหลานและคนรอบข้าง

4. อ.อดิเรก สร้างสรรค์งานอดิเรก เพิ่มพูนคุณค่า เกื้อกูลสังคม หากิจกรรมงานอดิเรกที่ชอบ ทำแล้วเพลิดเพลิน และมีคุณค่าทางจิตใจ เช่น อ่านหนังสือธรรมะ ฟังเทศน์ฟังธรรม พบปะสังสรรค์ ให้คำปรึกษาแนะนำ ฟังเพลง ปลูกต้นไม้

5. อ.อนามัย สร้างอนามัยดี ชีวีมีสุข นำพาอายุยืนยาว สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี หมั่นตรวจและรักษาสุขภาพ ปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ โดยควรตรวจสุขภาพประจำปี แนะนำให้ตรวจสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปีหรืออย่างน้อยทุก 3 ปี โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง เช่น โรคเบาหวาน โรความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ตรวจหาโรคมะเร็งที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และยังมีตรวจการมองเห็น การได้ยิน ตลอดจนประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุด้วย

 

ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/604219