บ้านศรีสุขเมืองทอง ศูนย์ดูแลผู้สูงวัย ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์พักฟื้นคนชรา บ้านพักคนชรา บ้านพักฟื้นคนชรา บ้านพักฟื้นผู้ป่วย สถานพักฟื้นผู้ป่วย สถานพักฟื้นคนชรา สถานพักฟื้นผู้ป่วยเรื้อรัง สถานดูแลผู้ป่วย สถานดูแลคนไข้ สถานดูแลผู้สูงวัย สถานดูแลผู้สูงอายุ สถานพักฟื้นผู้สูงอายุ สถานพักฟื้นผู้สูงวัย ศูนย์ดูแลผู้ป่วย ศูนย์ดูแลคนไข้ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัมพฤต ศูนย์ดูแลผู้พิการ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัมพาต ในรูปแบบที่พักมาตรฐานเยี่ยงโรงพยาบาล แต่บริการด้วยหัวใจ ใส่ใจเยี่ยงญาติสนิทผู้เป็นที่รัก ค่าบริการ ราคากันเอง ย่อมเยา
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะพักฟื้น ให้การดูแลตลอด 24 ชั่วโมง มีบริการห้องพักที่สะอาดถูกสุขลักษณะ
ชมรมผู้สูงอายุ
สรุปภาพรวมทั้งหมด และข้อคิดเห็น จากการศึกษาเชิงปริมาณ และคุณภาพ จากข้อคิดเห็นทั้ง จากนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และจากผู้สูงอายุเอง ที่มีประสบการณ์ในการดำเนินงาน ชมรมผู้สูงอายุมาแล้ว ประกอบกับข้อคิดเห็นของคณะศึกษาวิจัย สรุปรวบรวมลงได้ดังนี้
1. ในปัจจุบัน มีชมรมผู้สูงอายุอยู่โดยทั่วไป ทั้งประเทศ ประมาณ 3,487 ชมรม ชมรมดังกล่าวบางชมรมก็ดำเนินการเป็นเอกเทศ บางชมรมก็อยู่ในเครือข่ายสภาผู้สูงอายุ แห่งประเทศไทยฯ บางชมรมก็อยู่ในเครือข่าย ของหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข ระดับจังหวัด บางชมรมก็อยู่ในเครือข่าย กรมประชาสงเคราะห์ การศึกษาครั้งนี้ ได้พยายามติดต่อโดยทางไปรษณีย์ ไปยังชมรมทุกชมรม แต่พบว่า มีชมรมที่ตอบแบบสอบถามเพียง 1,024 ชมรม ทั้งที่สอบถามไปซ้ำถึง 2 ครั้ง แสดงว่า ในจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด ที่อ้างว่าเป็นชมรมผู้สูงอายุนั้น ที่ดำเนินการเป็นกิจลักษณะมีอยู่เพียง 1,042 ชมรม (30%) เท่านั้น นอกนั้นอาจมีแต่ชื่อ แต่มิได้มีกลไกดำเนินการอะไร ชมรมผู้สูงอายุที่อยู่ในเครือข่าย ของสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ ดูจะเป็นชมรมที่มีสถานภาพมั่นคง มีการดำเนินการต่อเนื่อง แน่นอนมากที่สุด (ทั้งนี้ อาจเป็นได้ว่า ชมรมผู้สูงอายุที่สมัครเข้าอยู่ใน เครือข่ายของสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ ดูจะเป็นชมรมที่มีสถานภาพมั่นคง มีการดำเนินงานต่อเนื่องแน่นอนมากที่สุด (ทั้งนี้ อาจเป็นไปได้ว่า ชมรมผู้สูงอายุ ที่สมัครเข้าอยู่ในเครือข่าย ของสภาแห่งประเทศไทยฯ ได้ จะต้องดำเนินการมาแล้ว ไม่ต่ำกว่า 1 ปี และมีสมาชิกในชมรมไม่ต่ำกว่า 50 คน เป็นมาตรการกรองคุณภาพอยู่แล้ว)
เมื่อพิจารณาถึงการก่อตั้งชมรมผู้สูงอายุ จะปรากฎว่า ชมรมผู้สูงอายุส่วนใหญ่ (กว่า 70%) เป็นชมรมที่ตั้งขึ้น โดยข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข และกรมประชาสงเคราะห์ เป็นผู้ชักชวน สนับสนุนให้ตั้งขึ้น จึงเป็นไปได้ว่า เมื่อตั้งแล้ว หน่วยงานราชการที่ริเริ่มไม่ติดตามต่อเนื่อง ชมรมที่ตั้งขึ้นก็เลิกลาไป บางแห่งตั้งขึ้นแล้ว ก็ไม่รู้จะทำอะไรต่อไป จึงมีแต่ชื่อ หาคนรับผิดชอบไม่ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น น่าจะเป็นไปได้ว่า การก่อตั้งครั้งแรกไม่มีอุดมการณ์แน่นอน ผู้สูงอายุก็อาจไม่ทราบว่า ตั้งขึ้นทำไม ชมรมเป็นของใคร ใครเป็นผู้ดำเนินการ? เพื่ออะไร? และเชื่อว่าผู้ชักชวนชี้นำเอง ในระดับจังหวัด-อำเภอ ก็ไม่อาจเข้าใจในอุดมการณ์ ของชมรมผู้สูงอายุ อย่างถ่องแท้ เมื่อทางส่วนกลาง และหน่วยเหนือแจ้งมาให้จัดตั้ง ชมรมผู้สูงอายุในท้องถิ่นก็จัดตั้ง จงปรากฎเมื่อตั้งขึ้นแล้ว ชมรมมิได้มีการพัฒนาให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ดังนั้น เมื่อคณะทำการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ติดต่อไปได้ทั้ง 3,466 ชมรม ตามรายชื่อ จึงมีการตอบรับแบบสอบถามเพียง 1,042 ชมรม
จากแบบสอบถาม และจากข้อคิดเห็นของทุกฝ่าย ต่างมีความเห็นตรงกันว่า ชมรมผู้สูงอายุเป็นประโยชน์แก่ผู้สูงอายุ อย่างแน่นอน อยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้ชมรมผู้สูงอายุ ที่ตั้งขึ้น ดำเนินการให้ประสบผลสำเร็จเท่านั้น จากการประเมินตนเอง ของชมรมทั้งหมดที่ตอบแบบสอบถาม ประเมินว่า ชมรมประสบผลสำเร็จในระดับพอใช้ ถึงดี รวมกัน 89.1% ที่ตอบว่าไม่ดีมี 7.4% แต่ถ้าจะคิดว่า ชมรมทั้งหมดมีถึง 3,487 ชมรม ไม่สนใจตอบแบบสอบถามถึง 2,424 ชมรม และถ้าจะประเมินว่า ชมรมที่ไม่สนใจตอบแบบสอบถาม เป็นชมรมที่ไม่ดำเนินการกิจกรรมอะไร หรือคิดว่าเป็นชมรมที่ไม่ประสบผลสำเร็จ ก็จะทำให้ชมรมผู้สูงอายุในปัจจุบัน ที่ไม่ประสบผลสำเร็จ มีถึง 70% โดยประมาณ ดังนั้น การศึกษาหารูปแบบ (Model) ชมรมที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญ
2. อุดมการณ์ของชมรมผู้สูงอายุ เพื่อเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ หารูปแบบชมรมผู้สูงอายุที่เหมาะสม คณะศึกษาวิจัยเห็นว่า จำเป็นที่จะต้องตั้งสมมติฐาน ของอุดมการณ์ของชมรมผู้สูงอายุขึ้น เป็นหลักในการดำเนินงาน
จากการศึกษา ชมรมผู้สูงอายุทั้ง ปริมาณและคุณภาพแล้ว จะเห็ว่า ถ้าพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ และวิธีดำเนินกิจกรรม ของชมรมผู้สูงอายุส่วนใหญ่แล้ว เมื่อนำมาประมวลเข้าด้วยกัน นำไปสู่แนวคิดได้ว่า อุดมการณ์ของชมรมผู้สูงอายุ น่าจะเป็นว่า
“ชมรมผู้สูงอายุ เป็น ชมรมของผู้สูงอายุ ในแต่ละชุมชนที่รวมตัวกันตั้งขึ้นมา แล้วดำเนินกิจกรรมของชมรม โดยผู้สูงอายุ ที่เป็นสมาชิก เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทุกด้าน หรือตามความมุ่งหมายของ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ นั้นๆ และ เพื่อสังคมโดยรวม
ซึ่งอาจขยายความให้ละเอียดได้ว่า ชมรมผู้สูงอายุในอุดมการณ์นั้น ใครจะริเริ่ม ใครจะก่อตั้งก็ตาม ชมรมนั้นจะต้องเป็นของสมาชิกในชมรม ซึ่งเป็นผู้สูงอายุ มิใช่ของโรงพยาบาล มิใช่ของทางราชการ มิใช่ของวัด มิใช่ของใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ ดังนั้น แนวความคิด ทัศนคติในการจะดำเนินการ ย่อมต้องมาจากเจ้าของ คือ สมาชิกชมรม ซึ่งจะเป็นผู้สูงอายุ และการดำเนินการกิจกรรม ของผู้เป็นเจ้าของ ต้องรับผิดชอบดำเนินการ มิใช่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทำให้ คนอื่นอาจช่วยดำเนินการให้ได้ แต่ผู้สูงอายุต้องรับผิดชอบ ในการดำเนินการ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นสมาชิกในชมรมนั้นเอง และเพื่อผู้สูงอายุอื่นๆ ถ้าเป็นไปได้ ตลอดทั้งสังคมโดยรวม
3. สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุจะดำเนินการไปได้ด้วยดี ปัจจัยหลักน่าจะอยู่ที่ คุณภาพของสมาชิกชมรม ในหลายๆ ด้าน ดังนี้ ก. อายุ ชมรมผู้สูงอายุส่วนใหญ่ รับสมาชิกที่เป็นผู้สูงอายุ ตามชื่อของชมรม กล่าวคือ มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีหลายชมรมที่รับสมัครสมาชิก ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป และบางชมรมรับสมัครสมาชิกเป็น 2 ประเภท ประเภทสามัญ อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ประเภทวิสามัญ ตั้งแต่ 60 ปีลงมา ถ้าชมรมใดมีสมาชิก ที่มีอายุมากขึ้น เป็นส่วนใหญ่ ชมรมนั้นมักขาดคนดำเนินการ ที่เข้มแข็ง เพราะขาดแรงงาน ดังนั้น สมาชิกของชมรมผู้สูงอายุ ควรจะหลากหลายช่วงอายุ โดยเริ่มตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ถ้าเป็นไปได้ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุแต่ละชมรม ควรมีสัดส่วนช่วงอายุที่เหมาะสม ดังนี้
อายุ 50-59 ปี มีสัดส่วน 15%
อายุ 60-69 ปี มีสัดส่วน 65%
อายุ 70-80 ปี มีสัดส่วน 15%
อายุ 80+ ปี มีสัดส่วน 5%
สัดส่วนดังกล่าว เป็นสัดส่วนโดยประมาณ ด้วยแนวความคิดว่า การมีหลากหลายช่วงอายุ จะทำให้ชมรมมีสมาชิกที่มีร่างกายแข็งแรง ช่วยดำเนินกิจกรรมของชมรม และมีแนวความคิดหลากหลาย ไม่ล้าสมัยจนเกินไป จะเป็นผลทำให้ชมรมมีศักยภาพ และประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะเกิดประโยชน์โดยทั่วไปในที่สุด
ข. สถานภาพทางความรู้ ของสมาชิกชมรม การใช้ระดับการศึกษาวัดความรู้ของสมาชิก คณะศึกษาวิจัยเห็นว่า ไม่ค่อยมีผลกระทบต่อความสำเร็จ ของการดำเนินกิจการชมรม แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า ชมรมผู้สูงอายุใด ที่สมาชิกมีสถานภาพทางความรู้ ใกล้เคียงกัน หรือแตกต่างกันไม่มาก จะทำให้การบริหารชมรม เป็นไปได้ด้วยดี สมาชิกเข้าใจ พูดจากันได้สนิทสนม ไม่มีช่องว่าง ในการสื่อความหมาย ส่วนใหญ่ชมรมผู้สูงอายุในหมู่บ้าน หรือชุมชน สมาชิกมักมีสถานภาพทางความรู้ ใกล้เคียงกัน ไม่มีปัญหาในเรื่องพูดกันไม่รู้เรื่อง แต่ชมรมในเมือง หรือกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะที่ใช้โรงพยาบาล หรือสถานที่ทางราชการ เป็นที่ตั้งชมรม มักมีความแตกต่างกัน ในสถานภาพของความรู้ ของสมาชิก ทำให้การสื่อความหมายกันลำบาก ทัศนคติและแนวความคิดก็แตกต่างกันไป ทำให้ความสนิทสนมกลมเกลียว ในระหว่างมวลสมาชิกไม่แนบแน่น เท่าที่ควร ชมรมประเภทนี้ มักมีจำนวนสมาชิกมาก ทำให้เกิดเป็นกลุ่มขึ้นในชมรม แยกกันไปตามความสนใจ (ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่อย่างใด)
ค. สถานภาพทางเศรษฐกิจ (การเงิน) ของสมาชิก ชมรมที่สมาชิกมีสถานภาพทางการเงินใกล้เคียงกัน จะทำให้การบริหารชมรมเป็นไปได้ด้วยดี ้เช่น ชมรมผู้สูงอายุในชุมชน หรือหมู่บ้าน สถานภาพทางการเงินของสมาชิก มักไม่แตกต่างกันมากนัก จึงไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องข้อจัดแย้งทางการเงิน แต่ชมรมในเมือง หรือในกรุงเทพมหานคร หรือชมรมที่ใช้สถานที่ราชการ เป็นสถานที่ดำเนินการ เช่น โรงพยาบาลของรัฐ เป็นต้น สมาชิกมักมีหลากหลายสถานภาพ มีความแตกต่างกัน ในเรื่องฐานะทางการเงินค่อนข้างมาก เป็นผลทำให้สมาชิก ผู้มีฐานะทางการเงินสูง มีส่วนในการบริหารจัดการชมรม มากกว่าสมาชิกผู้มีฐานะการเงินต่ำ ชมรมผู้สูงอายุในโรงพยาบาลของรัฐ บางแห่งมีกรรมการ และสมาชิกเป็นผู้มีฐานะการเงินดี มักมีกิจกรรมหารายได้ ให้โรงพยาบาลที่ตั้งชมรมนั้นด้วย จึงเข้าลักษณะโรงพยาบาลก็ได้ประโยชน์ จากชมรมผู้สูงอายุด้วย ฐานะทางการเงินของสมาชิก จะเป็นปัจจัยในการดำเนินกิจกรรม ของชมรมอย่างหนึ่ง เช่น ชมรมใดมีฐานะทางการเงินดี ก็มีกิจกรรมท่องเที่ยวสูง ชมรมใดฐานะทางการเงินของสมาชิกไม่ดี ก็จะมีกิจกรรมเรื่องเสริมรายได้สูง ดังนั้น สถานภาพทางการเงินที่แตกต่างกัน ของผู้สูงอายุ จะเป็นสิ่งชี้นำผู้สูงอายุ ในการเลือกเข้ามาเป็นสมาชิกในชมรม โดยอัตโนมัติ
4. อุดมการณ์ของสมาชิก จากสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่า อุดมการณ์ของชมรมผู้สูงอายุคือ ชมรมผู้สูงอายุเป็นของผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุ เพื่อผู้สูงอายุ และสังคมนั้น จากนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ และจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก พบว่า ส่วนใหญ่สมาชิกชมรม มักไม่เข้าใจในอุดมการณ์ ของการตั้งชมรม ทุกคนมักจะคิดว่า เป็นสมาชิกจะได้อะไร ดังจะเห็นได้ว่า สมาชิกชมรมที่ก่อตั้งโรงพยาบาล จะมีสมาชิกมาก ด้วยผู้สูงอายุมุ่งหวังว่า คงจะได้รับความช่วยเหลือด้านเจ็บป่วย จากโรงพยาบาล ผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร บางคนเป็นสมาชิกขมรมผู้สูงอายุในโรงพยาบาล เกือบทุกโรงพยาบาลที่มีชมรมผู้สูงอายุ และเลือกไปชมรมที่ให้ประโยชน์ที่สุด ดังนั้น การชี้แจงเรื่อง อุดมการณ์แก่สมาชิกชมรม ในการก่อตั้งครั้งแรก หรือการสมัครเข้าเป็นสมาชิกชมรม จึงเป็นเรื่องสำคัญ ชมรมใดที่ตั้งขึ้นมา โดยสมาชิกไม่เข้าใจในอุดมการณ์ จะประสบปัญหายุ่งยาก ในการบริหารชมรม ให้ประสบผลสำเร็จ เพราะทุกคนคิดแต่ จะได้อะไร แต่ไม่คิดจะทำอะไร ชมรมใดสมาชิกเข้าใจในอุดมการณ์ แม้จะมีสถานภาพทางความรู้ และการเงินต่ำ ก็สามารถประสบผลสำเร็จได้ด้วยดี (ตามอัตภาพ)
จ. จำนวนสมาชิกในแต่ละชมรม จากการศึกษาเชิงปริมาณ ชมรมผู้สูงอายุมีจำนวนสมาชิกมากน้อย แตกต่างกันไป จากมากถึง 500 คนขึ้นไป ถึงน้อยที่สุก มีสมาชิกอยู่ 50 คน ลงมา ส่วนใหญ่ 42% จะมีอยู่ระหว่าง ร้อยคนลงมา ชมรมที่อยู่ในเมือง เปิดรับสมาชิกทั่วไป จะมีจำนวนสมาชิกมาก ชมรมที่อยู่ในหมู่บ้าน หรือชุมชน เปิดรับสมาชิกในหมู่บ้าน หรือชุมชนจะมีจำนวนสมาชิกไม่มากนัก ชมรมผู้สูงอายุที่มีสมาชิกมากๆ บางแห่ง มีกิจการที่เกี่ยวกับฌาปนกิจสงเคราะห์ร่วมอยู่ด้วย จึงทำให้สมาชิกมีมาก การมีสมาชิกมากมีข้อดีที่ ดูคล้ายชมรมใหญ่โต ทำกิจกรรมอะไรก็ดูครึกครื้น แต่ก็มีข้อเสียที่ ส่วนใหญ่สมาชิกมักไม่รู้จักกันหมด ไม่มีความสนิทสนมกันแน่นแฟ้น และเกิดเป็นกลุ่ม ไปในชมรม ตามความสนใจ ซึ่งแตกต่างกัน (เพราะคนจำนวนมาก) การมีสมาชิกน้อย มีข้อดีที่ทุกคนรู้จักกันหมด แต่ดูเงียบเหงาไม่คึกคัก ถ้าใช้อุดมการณ์ของการมีชมรมผู้สูงอายุ เป็นหลักในการวิเคราะห์ คณะศึกษาวิจัยเห็นว่า จำนวนสมาชิกในชมรม แต่ละชมรม ไม่จำเป็นต้องมีมาก และการมีสมาชิกมาก ดูจะทำให้การดำเนินงาน ประสบความยุ่งยากมากด้วย แต่การมีสมาชิกน้อยเกินไป ก็ดูไม่ใช่ชมรม เราเห็นว่า จำนวนที่เหมาะสมที่สุด น่าจะอยู่ระหว่าง 20-100 คน
5. การก่อตั้งชมรมผู้สูงอายุครั้งแรก การจะก่อตั้งชมรมผู้สูงอายุขึ้นที่ใด หรือในชุมชนใด ที่นั้น หรือชุมชนนั้น
ควรมีปริมาณผู้สูงอายุมากพอ ที่จะรวมกลุ่มกันได้ ในจำนวนที่เหมาะสม คณะศึกษาวิจัยมีความเห็นว่า จำนวนที่เหมาะสมน่าจะไม่น้อยกว่า 20 คนขึ้นไป
ชุมชนนั้น ควรมีหน่วยงานทางราชการ เช่น สถานีอนามัย โรงพยาบาล โรงเรียน หรือวัด คอยให้ความสนับสนุนในทางความรู้ และอื่นๆ จะทำให้ชนมรมที่ตั้งขึ้น สามารถพัฒนาได้ด้วยดี
ชุมชนนั้น ควรมีความพร้อมในเรื่อง การบริหารจัดหาร เห็นความสำคัญของ การมีชมรมผู้สูงอายุ และมีผู้นำที่เป็นผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง
การริเริ่มครั้งแรก น่าจะเป็นการริเริ่มจากทางราชการ หรือเอกชนเองก็ได้ทั้งนั้น สำคัญอยู่ที่ว่า จะต้องทำให้ผู้สูงอายุในชุมชนนั้น เข้าใจในหลักการ หรืออุดมการณ์ ของการมีชมรมผู้สูงอายุ มีขึ้นเป็นของผู้สูงอายุเอง โดยผู้สูงอายุเอง และเพื่อผู้สูงอายุเอง รวมทั้งสังคม เป็นผลพลอยได้อย่างถ่องแท