บ้านพักผู้สูงอายุ บ้านศรีสุขเมืองทอง แนะนำดูแลผู้สูงวัย ช่วงโควิด-19

บ้านพักผู้สูงอายุ บ้านศรีสุขเมืองทอง ดูแลผู้สูงวัย ช่วงโควิด-19

 

บ้านพักผู้สูงอายุ

 

ผู้สูงอายุเป็นช่วงวัยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษกว่าวัยอื่น แต่ละคนจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายไม่เท่ากัน บางคนมาก บางคนน้อย ขึ้นอยู่สุขภาพและการใช้ชีวิตที่ผ่านมา หัวใจหลักของการดูแลผู้สูงอายุ คือ การทำให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตในแต่ละวันได้อย่างมีความสุข

ในช่วงที่ประเทศไทยมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้สูงอายุถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโควิด-19 มากกว่าช่วงวัยอื่นๆ เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง ภูมิคุ้มกันลดลงตามวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคปอด โรคมะเร็ง กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะรับโควิด-19 ได้ง่าย หากไม่ได้มีการดูแลและป้องกันอย่างดี

บุคคลในครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ จะต้องเข้าใจปัญหาและเตรียมพร้อม เพื่อที่จะได้ดูแลสภาพแวดล้อม สุขภาพของผู้สูงอายุอย่างถูกต้องและเหมาะสม ผศ.พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน สาขาวิชาอายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีภูมิต้านทานน้อยกว่าคนทั่วไป มีภาวะขาดอาหาร หรือมีโรคเรื้อรัง กลุ่มนี้ถือว่าเปราะบางมาก กลุ่มผู้สูงอายุมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยช่วงวัยอื่นๆ เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบสูง

ผู้สูงอายุเป็นช่วงวัยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษกว่าวัยอื่น แต่ละคนจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายไม่เท่ากัน บางคนมาก บางคนน้อย ขึ้นอยู่สุขภาพและการใช้ชีวิตที่ผ่านมา หัวใจหลักของการดูแลผู้สูงอายุ คือ การทำให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตในแต่ละวันได้อย่างมีความสุข

ในช่วงที่ประเทศไทยมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้สูงอายุถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโควิด-19 มากกว่าช่วงวัยอื่นๆ เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง ภูมิคุ้มกันลดลงตามวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคปอด โรคมะเร็ง กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะรับโควิด-19 ได้ง่าย หากไม่ได้มีการดูแลและป้องกันอย่างดี

บุคคลในครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ จะต้องเข้าใจปัญหาและเตรียมพร้อม เพื่อที่จะได้ดูแลสภาพแวดล้อม สุขภาพของผู้สูงอายุอย่างถูกต้องและเหมาะสม ผศ.พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน สาขาวิชาอายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีภูมิต้านทานน้อยกว่าคนทั่วไป มีภาวะขาดอาหาร หรือมีโรคเรื้อรัง กลุ่มนี้ถือว่าเปราะบางมาก กลุ่มผู้สูงอายุมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยช่วงวัยอื่นๆ เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบสูง

ในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 ระบาด ผู้ที่มีบทบาทสำคัญมากที่สุดในการดูแลผู้สูงอายุคือ ลูกหลาน บุคคลในครอบครัว ต้องทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมในการดูแล เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง

12 วิธี การดูแลผู้สูงอายุ ห่างไกลโควิด-19

1. ควรดูแลเรื่องอาหารการกิน ไม่รับประทานอาหารที่หวาน หรือเค็มเกินไป เน้นอาหารที่มีโปรตีนสูงเสริมภูมิคุ้มกัน และควรให้รับประทานอาหารที่หลากหลาย

2. ชวนผู้สูงอายุออกกำลังกาย เช่น การเดิน หรือแกว่งแขน

3. ผู้สูงอายุต้องพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนสำคัญมาก ควรให้นอนประมาณไม่เกิน 3 ทุ่ม เพื่อให้พักผ่อนได้เต็มที่ยาวนาน หากนอนเร็วกว่า 3 ทุ่ม ผู้สูงอายุจะตื่นเร็วกว่าปกติ

4. หากมีความจำเป็นต้องออกจากบ้าน ต้องสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน และหากต้องไปในที่สาธารณะ งดให้ผู้สูงอายุสัมผัสจุดจับร่วม เพื่อลดความเสี่ยงการได้รับเชื้อ และหลังกลับมาจากนอกบ้านต้องทำความสะอาดร่างกายทันที

5. ไม่ใช้ช้อนกลาง หรือรับประทานอาหารร่วมกับคนในบ้าน 

6. ไม่ให้ผู้สูงอายุใช้ของร่วมกับคนในบ้าน

7. เน้นให้ผู้สูงอายุล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์

8. หากไม่จำเป็นไม่ควรออกจากบ้าน หรือออกไปพบปะผู้คน อาจใช้วิธีการวิดีโอคอลคุยกันผ่านทางสมาร์ทโฟนแทน

9. หากมีลูกหลานที่ต้องทำงานข้างนอก ควรอาบน้ำและชำระร่างกายให้สะอาดก่อนที่จะเข้าใกล้ผู้สูงอายุ

10. งดการแสดงความรัก เช่น การกอด หรือหอม

11. หากิจกรรมสร้างความสนุก คลายความเครียดให้กับผู้สูงอายุ

12. ถึงแม้จะอยู่ในบ้านเดียวกัน ระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกครอบครัวต้องปฏิบัติเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด

ในช่วงที่ทุกคนต้องอยู่ที่บ้าน ลดการเดินทางและพบปะผู้คน เพื่อลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 อาจเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย โดยเฉพาะผู้สูงอายุลูกหลานหรือบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลควรมีกิจกรรมให้ผู้สูงอายุได้ทำร่วมกัน อาทิ ชวนทำขนม ทำอาหาร อ่านหนังสือ เพื่อสร้างความสนุกและสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้กับทุกคนในครอบครัว หัวใจสำคัญที่สุด คือ เราต้องรู้ก่อนว่าผู้สูงอายุในบ้านของเราชอบอะไร แล้วหากิจกรรมที่สอดคล้องกับที่เขาชื่นชอบ

3 วิธีคลายความเครียด ลดความกังวลในผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง

1. มีการพูดคุยสร้างความสัมพันธ์ สร้างความสนุก เพื่อให้ผู้สูงอายุไม่รู้สึกโดดเดี่ยวหรือเหงา

2. ชวนทำอาหาร ใช้เวลาว่างร่วมกันมากขึ้น

3. ชวนทำกิจกรรมที่ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง

ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่ สสส. มุ่งเน้นให้ความสำคัญในการดูแล ส่งเสริม สนับสนุนให้มีสุขภาวะที่ดีทั้งด้านกาย จิต ปัญญา​ และสังคม  เชื่อแน่ว่า คนไทยทุกคนจะผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน  นอกจากนี้ สสส.ร่วมต่อสู้กับโรคระบาดใหม่นี้เคียงข้างหน่วยงานสาธารณสุขของประเทศ  เน้นสื่อสารข้อมูลที่น่าเชื่อถือ โดยใช้แฮชแท็ค #ไทยรู้สู้โควิด 

ที่มา : https://www.thaihealth.or.th/